Welcome!
We're glad you're here
section 1
The Thai consonants and vowels and how to put them together
- #1-01 first consonants and vowels ก ม อะ อา
- #1-02 tone rules (without tone marks)
- #1-03 both a consonant and a vowel อ
- #1-04 more consonants and vowels ป น ไอ อู
- #1-05 the first tone mark อ่ (mái àek)
- #1-06 consonants and vowels ฉ จ เอ อี
- #1-07 consonants ด ท ร
- #1-08 consonants ง ย
- #1-09 the disappearing vowel โอะ
- #1-10 reading practice (open vowels)
- #1-11 consonants and vowels ล ต อิ แอ
- #1-12 consonant and vowels ว อัว อัวะ อาว
- #1-13 the second tone mark อ้ (mái thoo)
- #1-14 consonants and vowels ส บ อู อุย
- #1-15 a special consonant and new vowels ห เอา เอาะ
- #1-16 another leading consonant อย
- #1-17 consonants and vowels ค ข อำ โอ
- #1-18 consonants and vowels พ ผ อึ อื
- #1-19 combined consonants and assumed อะ
- #1-20 consonants and vowels ช ถ เอะ แอะ
- #1-21 consonants and vowels ธ ศ เออะ เออ
- #1-22 the final 2 tone marks อ๊ อ๋ (mái dtree mái jàd-dtà-waa)
- #1-23 consonants and vowels ซ ษ เอียะ เอีย
- #1-24 consonants and vowels ณ ญ เอือะ เอือ
- #1-25 consonants ฟ ฝ
- #1-26 the misbehaving ร
- #1-27 consonants ภ ฮ ฬ ฆ ฌ
- #1-28 the 20 ใ words
- #1-29 consonants ฒ ฐ ฑ ฏ ฎ
section 2
the rest you need to know; consonant repetition, abbreviation, punctuation, little-used characters and obsolete letters
useful tables
Everyday vocabulary worth knowing
reference section
Tables of consonants and vowels
reading practice 2
แบบฝึกอ่าน 2
สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน โดยจะจัดให้มีขึ้นในเดือนมีนาคม
สงกรานต์ เป็นคำในภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเพณีสงกรานต์นั้นมีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นี้นั้นจะมีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดวันที่แน่นอน คือ วันที่ 13–15 เมษายน เดิมวันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 จากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
เมื่อก่อน พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงให้พิธีสงกรานต์นั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ โดยได้ขยายออกไปสู่สังคมเป็นวงกว้างมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ ตลอดจนความเชื่อ แต่เดิมในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาในสังคมไทยสมัยใหม่เกิดเป็นประเพณีกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับว่าวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข
ปัจจุบันได้มีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ โดยได้ตัดข้อมูลในส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมออกไป
ปัจจุบันปฏิทินไทยกำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ